ยางลบเครื่องมือช่างคอม

ยางลบถูแรมแล้วคอมใช้ได้ !!!

สวัสดีเพื่อนทุกๆท่าน ช่วงนี้ ช่างเค ห่างหายไปนานในการเขียนบทความต่างๆ จริงก็ไม่ได้หายไปไหนครับ ช่วงนี้ช่างเค งานค่อนข้างเยอะ เลยไม่มีเวลามานั่งทำบลความต้องขอโทษเพื่อนๆด้วยนะครับ วันนี้ก็เช่นเคยช่างเค มีความรู้มาฝากและเป็นคำถามที่โดนถามมามากที่สุด กับคำถามที่ว่า “การใช้ยางลบถูที่ขั้วของแรม” นั้นทำให้คอมพิวเตอร์กลับมาทำงานได้จริงหรือไม่ ??

คำตอบก็คือ – ใช่ ครับ แต่ก็ไม่ได้เป็นส่วนหลักในการที่ทำให้คอมพิวเตอร์กลับมาทำงานได้นะครับ เพราะการที่คอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถใช้งานได้นั้นมีหลายองค์ประกอบ ดังนั้นการที่ช่างเค บอกว่าการที่นำยางลบมาถูที่ขั้วของแรมไปมานั้นทำให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องกลับมาใช้ได้นั้น ก็ต้องมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น

  • เครื่องจะต้องใช้งานได้ปกติอยู่แล้ว
  • เครื่องที่อุปกรณ์ด้านในเครื่องครบ
  • เครื่องจะต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ทุกชิ้นส่วน

เมื่อเราทราบแล้วว่า การนำแรมมาถูที่ขั้วของแรมนั้นใช้งานได้จริง เรามาดูต่อว่า มันทำไมถึงใช้งานได้ และทำไมถึงใช้มากันจนถึงยุคนี้

 🙂 ต้องบอกก่อนเลยว่า อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคต่างๆนั้น ล้วนแล้วแต่มีวงจรเชื่อมต่อกัน กับอุปกรณ์อื่นๆ ในตัวมันเองอีกมากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องเจอคือ การเจอคราบอ๊อกไซด์ ตามจุดเชื่อมต่างๆ เจ้า แรม (Memory) ก็เช่นเดียวกัน มันเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างตัววงจรของแรม กับเมนบรอด และไม่ใช่แค่แรมที่มีจุดเชื่อม อุปกรณ์อื่นๆก็มี เช่น การ์ดจอ ก็จะเจอปัญหาเช่นนี้เหมือนกัน และส่วนอื่นในเมนบรอดเองก็มี แต่ว่ามันเป็นจุดเชื่อมที่ไม่สามารถถอดได้ จุดเชื่อมเหล่านั้น จะยึดด้วยตะกั่ว จุดเชื่อมเหล่านั้นก็มีการเกิดคราบอ็อกไซด์ได้เช่นเดียวกัน แต่ผลกระทบอาจจะน้อยกว่า จุดเชื่อมหรือหน้าสัมผัสที่สามารถถอดออดได้นั่นเอง

เรามาดูว่าเจ้าอ๊อกไซด์มันหมายถึงอะไร

ออกไซด์ หมายถึง สารประกอบ ที่เกิดจาก ธาตุออกซิเจน รวมกับธาตุอื่นๆ

ออกไซด์ของโลหะ

ออกไซด์ของโลหะส่วนใหญ่เป็น สารประกอบไอออนิก และเป็นเบส เช่น แคลเซียมออกไซด์ ( CaO ) ออกไซด์ของโลหะทรานซิชั่น อาจเรียกว่า สนิม

ออกไซด์ของกึ่งโลหะ

รวมถึง ออกไซด์ของโลหะบางชนิด เป็นได้ทั้งกรดและเบส เช่น อะลูมิเนียมออกไซด์ ( Al2O3 ) ฯลฯ

ออกไซด์ของอโลหะ

เป็นสารประกอบโควาเลนต์ และเกือบทั้งหมดเป็นกรด เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 )

ก็เป็นตามความหมายออกมาประมาณนี้ แต่จะอธิบายภาษาที่เข้าใจง่ายละกันครับ คือ คราบสกปรกที่เกิดจากความชื้นผสมกับฝุ่นในอากาศ ตรงบริเวณจุดเชื่อมต่อ หรือหน้าสัมผัส ทำให้เกิดคราบที่จุดเหล่านั้น ทำให้วงจรไฟฟ้าอาจจะทำงานไม่สมบูรณ์ ดังนั้นก็เลยเกิดเป็นการนำเอายางลบมาทำความสะอาดบริเวณชุดเชื่อมที่สามารถถอดออกได้นั่นเอง

คราบอ๊อกไซด์

ขอบคุณที่มาภาพ : http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/07/X8128324/X8128324.html

แล้วทำไมต้องเป็น ยางลบ? 

ทำไมไม่เป็นอย่างอื่น แล้วทำไมยางลบจึงได้รับหน้าที่นี้มาช้านาน การนำยางลบมาทำความสะอาดจุดเชื่อมต่อเหล่านี้ ไม่มีข้อมูลว่าใครเป็นผู้นำมาใช้เป็นคนแรก และใช้ครั้งแรกที่ไหน เอาเป็นว่า เราก็ใช้อยู่ในประเทศเรามานานตั้งแต่ที่เรารู้จักกับวงจรไฟฟ้านั่นเอง

การใช้ยางลบถูแรม

เอาล่ะพูดมาเยอะแล้ว จริงๆแล้วการทำความสะอาดคราบฮ๊อกไซด์เหล่านี้ ก็มีน้ำยาทำความสะอาดเหมือนกัน เป็นสารเคมีที่ผลิตมาเฉพาะใช้งานกับวงจรไฟฟ้าเหล่านี้โดยตรง โดยคุณสมบัติของสารเคมีเหล่านั้นก็จะมีหลักอยู่ หลายอย่างเช่น

  • ไม่มีส่วนผสมของน้ำหรือสารนำไฟฟ้า
  • ไม่ติดไฟง่าย
  • ไม่มีสารทำลายชั้นบรรยากาศ
  • ไม่มีพิษ (เพราะถ้ามีคนที่ทำงานกับสิ่งเหล่านี้ก็อาจเกิดอันตรายได้)

ซึ่งสารเคมีที่กล่าวมาก็มีผู้พลิตหลายรายผลิตขึ้นมาให้เลือกใช้มากมาย แต่ที่สังเกตุได้ชัดเจนสุดของสารเคมีเหล่านี้ จะราคาค่อนข้างสูงพอสมควร

ตัวอย่างน้ำยาล้างคราบสกปรกในวงจรหรือคาบอ๊อกไซด์

เราก็พอรู้กันแล้วว่า จริงๆ ก็ไม่ได้มีแค่เจ้ายางลบเท่านั้นที่สามารถ ทำความสะอาดจุดเชื่อมต่างๆของอุปกรณ์ อย่างเช่นแรม หรือ การ์ดจอ กันแล้ว ก็มาทำความเข้าใจในการจะถอดอุปกรณ์เหล่านี้ออกจาก คอมพิวเตอร์ของเรา

      • ก่อนการถอดอุปกรณ์ทุกครั้ง ควรถอดปลั๊กไฟออกจากตัวเครื่อง 
      • ควรทำเฉพาะตอนมีปัญหาเท่านั้น ไม่ถอดทำความสะอาดบ่อยๆ
      • เลือกใช้ยางลบที่มีอายุไม่มาก หมายถึงยางลบที่ไม่ได้ถูกทิ้งมานานๆ เพราะถ้ายางลบโดนทิ้งไว้โดยไม่ใช้ ยางจะเสื่อมสะภาพเป็นยางเหนียว ซึ่งจะทำให้ ขาพินของแรมกับการ์ดจอ สกปรกมากกว่าเดิมและอาจจะทำให้ เสียหายได้
      • ใช้แปลงในการปัดขี้ยางลบ ห้ามใช้มือปัดหรือถูที่ขาของแรมเด็ดขาด

ก่อนนำอุปกรณ์เสียบกลับเข้าในสล็อต ควรเช็คหรือทำความสะอาด โดยหาลมเป่าสล็อตด้วย (ถ้ามี) ห้ามใช้แปลง แปลงลงร่องสล็อตแรมเด็ดขาด เพราะขนแปลงอาจจะเกาะหรือเกี่ยวกับขาของช่องเสียบ อาจจะหาหรือเสียบหายได้

เป็นอย่างไรกันบ้างหายข้องใจกันหรือยัง แต่ถึงอย่างไร การกระทำลักษณะแบบนี้ เป็นการทำที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ได้ ควรให้ผู้เชี่ยวชาญ ดำเนินการจะดีกว่า อย่างที่เขว่า “เสียน้อยเสียมาก เสียยากเสียง่าย” วันนี้ช่างเค ขอตัวไปก่อน ไว้เจอกันใหม่ บ๊าย….บาย….

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า