วิธีซ่อมคอมพิวเตอร์

ซ่อมคอมพิวเตอร์ ด้วยตนเอง (เบื้องต้น)

สวัสดีทุกคนวันนี้แอดมินจะมาแนะนำวิธีเช็คคอมพิวเตอร์เองได้ง่ายๆ ใครๆก็สามารถเช็คได้ หลายครั้งเองเวลาเราใช้งานคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นแบบ Desktop หรือ Laptop ก็ตาม บางครั้งอาการก็จะมาแบบไม่ทันตั้งตัว เช่น เล่นแล้วค้าง จอฟ้า เปิดไม่ติด ไฟเข้าแต่ไม่บูท วันนี้เลยจะมาแนะนำคนใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ตรวจเช็คเบื้องต้นกันก่อนจะส่งเครื่องไปซ่อม มาดูวิธีการ ซ่อมคอมพิวเตอร์ กันเบื้องต้นก่อน

รูปแบบการตรวจเช็คและการ ซ่อมคอมพิวเตอร์ เบื้องต้น

อาการเสียของคอมพิวเตอร์มีหลากหลายแบบและบางอาการเราก็สามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ แต่บางอาการก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญหรือช่างเฉพาะทาง ดังนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึงการตรวจเช็คคอมพิวเเตอร์ ที่เราสามารถ ตรวจเช็คและแก้ไขเองได้ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ อาจจะทำอะไรไม่ได้มาก อาจจะต้องส่งศูนย์บริการหรือร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ที่เชื่อถือได้ แต่ก็มีบางส่วนที่เราสามารถตรวจสอบเองได้ แยกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้

ซอฟต์แวร์ (Software) เช่น ระบบปฏิบัติการ,โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เช่น Microsoft Office Word,Excel,Power Point เป็นต้น
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เช่น เมนบอร์ด,ซีพียู,แรม,ฮาร์ดดิกส์ เป็นต้น

ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาหรือที่เราเรียกันว่า โน๊ตบุ๊ค (Laptop) ถ้าเป็นรุ่นใหม่ๆ หรือคอมพิวเตอร์ที่รวมอยู่ในจอ All In One อาจจะดูในส่วน ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เองไม่ได้ แต่ถ้าเป็นเครื่องที่ไม่ใหม่มาก ก็ยังพอจะเปิดตรวจสอบได้ 

คอมพิวเตอร์ (Desktop)

ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Desktop เป็นรูปแบบเคสแยกกับจอภาพ ที่ส่วนใหญ่ใช้งานทั่วไป จะเป็นเครื่องประกอบหรือเป็นเครื่องที่ประกอบมาจากโรงงานผู้ผลิต เราสามารถเช็คและตรวจสอบ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เองได้ง่ายกว่าและซ่อมคอมพิวเตอร์ได้ง่ายกว่านั่นเอง.

ซ่อมคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค (Laptop)

จะเป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก อย่างที่เราคุ้นหูและเรียกันทั่วไปว่า โน๊ตบุ๊ค (Notebook) ปัจจุบันโน๊ตบุ๊คเองม็พัฒนาจนเทียบเท่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรืออาจจะสูงกว่าในบางรุ่นแล้ว ซึ่งปัจจุบันเองโน๊ตบุ๊คเองก็ทำชิ้นส่วนอุปกรณ์มาแบบให้เรา ไม่สามารถ จะเพิ่มหรืออัพเกรดอะไรได้แล้ว เหตุผลที่ผู้ผลิตไม่อยากให้มีชิ้นส่วนที่ถอดได้มากมายเหมือนก่อนหน้านี้เพราะ เขาอาจจะมองว่า การมีจุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่มากไป อาจจะทำให้เครื่องทำงานผิดพลาดมากขึ้นนั่นเอง ดังนั้นการตรวจซ่อมเครื่องโน๊ตบุ๊คอาจะต้องอาศัย ช่างผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมนั่นเอง.

ซ่อมคอมพิวเตอร์

 

คอมพิวเตอร์แบบ ออลอินวัน (All In One)

คอมพิวเตอร์รูปแบบนี้ ก็จะเรียกว่า Desktop เช่นเดียวกัน เพียงแค่การออกแบบ ผู้ผลิตจะนำอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มารวมกันเป็นเครื่องเดียว เพื่อจะได้ใช้งานได้สะดวกมากขึ้น และประหยัดพื้นที่ในการวาง คอมพิวเตอร์ และยังดูเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม สายเชื่อมต่อน้อยที่สุด คอมพิวเตอร์ รูปแบบนี้ดูสวยงามเป็นระเบียบก็จริง แต่ก็มาพร้อมการดูแลรักษาหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในค่อนข้างยาก และราคาอุปกรณ์บางตัวก็จะเป็นอุปกรณ์เฉพาะเท่านั้นเช่น จอภาพ,เมนบรอด,พัดลมซีพียู เป็นต้น การที่จะอัพเกรดอุปกรณ์นั้น เราไม่สามารถแกะเองได้เหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป เพราะการแกะต้องใช้ความชำนาญและเชี่ยวชาญพอสมควร เพราะแต่ละรุ่น วิธีการแกะและประกอบไม่เหมือนกัน บางรุ่น อาจจะต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการแกะ และอาจจะต้องมีอุปกรณ์ในการติดตั้งเพิ่มเติมอีกด้วย.

ซ่อมคอมพิวเตอร์

เมื่อเรารู้แล้วว่าคอมพิวเตอร์ ที่ใช้งานกันทั่วไปมีรูปแบบไหนบ้าง เราก็ไปดูกันเลยว่าเราสามารถที่จะตรวจเช็คคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ไขปัญหาส่วนไหนบ้าง ต้องบอกก่อนว่าบทความนี้ เป็นการแนะนำเบื้องต้นเท่านั้นควรศึกษาคู่มือและเอกสารเงื่อนไขการรับประกันให้ครบถ้วนก่อน เพราะถ้าเกิดผิพลาดมาทางผู้ผลิตและจำหน่ายอาจจะปฏิเสธ การรับประกันได้เลย.

** ข้อควรระวัง **
– ก่อนลงมือตรวจซ่อมทุกครั้ง ต้อง ShutDown (ปิดเครื่อง) ก่อนทุกครั้ง.
– ก่อนดำเนินการใดๆ ต้องถอดปลั๊กไฟทุกครั้ง.
– การเปิดฝาเคสแบบที่เป็นกระจก ต้องคลายน็อตทั้งหมดก่อนทุกครั้งและเวลาปิดกลับเข้าไปต้องใส่กระจกให้ถูกด้าน หรืออาจจะมาร์คไว้ก่อน การขันสกรูต้องขันเข้าไปแค่หลวมก่อนทุกตัว และอย่าใช้แรงขันมากเด็ดขาด.
– การถอดอุปกรณ์ต่างๆ ต้องมีรู้พื้นฐานก่อนที่จะดำเนินการ เพราะอุปกรณ์บางตัวอาจจะมีวิธีการถอดและประกอบกลับไม่เหมือนกัน ถ้าประกอบหรือถอดอุปกรณ์ ไม่ถูกขั้นตอนอาจทำให้ชิ้นส่วนเสียหายได้.
– ถ้าดูแล้วขั้นตอนทำค่อนข้างยุ่งยากให้สอบถามผู้เชี่ยวชาญ หรือ ติอต่อทีมงานที่นี่
– การแกะหรือเปลี่ยนอุปกรณ์บางรายรายการ อาจจะต้องดูเงื่อนไขก่อนแกะเครื่องทุกครั้ง เพราะอาจมีผลในการรับประกันสินค้า.

วิธีตรวจ ซ่อมคอมพิวเตอร์

  • การประเมินจากอาการที่เกิดขึ้น กรณีที่ยังสามรถเปิดเครื่องได้ และเข้าระบบปฏิบัติการ (Windows) ได้
  • การประเมินจากอาการที่เกิดขึ้น กรณีที่ยังสามรถเปิดเครื่องได้ แต่ไม่สามารถเข้าระบบปฏิบัติการ (Windows) ได้
  • การประเมินจากอาการที่เกิดขึ้น กรณีที่เครื่องไม่ทำงานเลย ไฟไม่เข้าระบบ พัดลมไม่หมุน

การตรวจประเมินจะมีหลักอยู่ประมาณ  2 ส่วน อย่างที่กล่าวมาข้างต้น เรามาดูว่า แต่ละอย่างการตรวจประเมินอาการเสียน่าจะมีอะไรบ้างและต้องเช็คจุดไหนก่อน เราไปดูตัวแรกก่อนเลย.

กรณีที่ยังสามรถเปิดเครื่องได้ สามารถเข้าระบบปฏิบัติการ (Windows) ได้

อาการที่เกิดขึ้นกับกรณีนี้ มีหลากหลายอาการจะลองยกตัวอย่างอาการที่เกี่ยวเนื่องและโอกาศที่จะเกิดขึ้นได้ มีอะไรบ้างดังนี้

  • เครื่องทำงานช้า
  • เข้าวินโดว์ได้สักพักค้าง
  • เข้าวินโดว์ได้สักพักจอฟ้า
  • เข้า Windows Explorer ไม่ได้
  • คอร์เซอร์เม้าส์หมุนค้างตลอดเวลา
  • เปิดโปรแกรมไม่ได้
  • มีหน้าต่างแจ้งเตือนตลอดเวลา
  • ดูวีดีโอแล้วภาพค้าง กระตุก

อาการที่ว่ามาข้างต้น ส่วนมากแล้วจะมาจาก ระบบปฏิบัติการไม่สมบูรณ์ หรือ อาจจะมาจากการอัพเดทระบบไม่สมบูรณ์ ส่งผลทำให้การทำงานต่างๆ เหล่านี้มีผลกระทบ ต่อผู้ใช้งาน แนวทางการแก้ไขปัญหาข้างต้นมีดังนี้ (สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุกชนิด)

  • ตรวจสอบและอัพเดทระบบปฏิบัติการอีกครั้ง
  • ลบโปรแกรมที่มีปัญหาและติดตั้งใหม่
  • สแกนไวรัสอีกครั้ง
  • ติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ (ข้อมูลจะหายต้องสำรองข้อมูลก่อนทุกครั้ง)
  • Reset ระบบปฏิบัติการ (ข้อมูลจะหายต้องสำรองข้อมูลก่อนทุกครั้ง)
  • ติดตั้งไดร์เวอร์ของอุปกรณ์ต่างๆ ให้ถูกต้องและครบถ้วน

ถ้าดำเนินการตรวจเช็คและแก้ไขแล้วยังพบปัญหา แนะนำให้ส่ง้ครื่องให้ศูนย์บริการตรวจสอบ หรือ สอบถามได้ที่นี่ บริการนอกสถานที่

กรณีที่ยังสามรถเปิดเครื่องได้ แต่ไม่สามารถเข้าระบบปฏิบัติการ (Windows) ได้
อาการที่เกิดขึ้นกับกรณีนี้ มีหลากหลายอาการจะลองยกตัวอย่างอาการที่เกี่ยวเนื่องและโอกาศที่จะเกิดขึ้นได้ มีอะไรบ้างดังนี้ ส่วนนี้จะต้องวิเคราะห์ฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ต้องมีความรู้พื้นฐานในการแกะและประกอบอุปกรณ์ด้วย อาการที่ว่านี้จะสามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เท่านั้น.

  • ไม่สามารถบูธเข้าวินโดว์ได้เลยหรือบูธวนไปวนมา
  • ใช้ระยะเวลาในการบูธนานมาก และไม่สามารถเข้าหน้าวินโดว์ได้
  • เปิดเครื่องมาระบบ เป็นหน้า BIOS ไม่สามารถไปต่อ
  • เปิดเครื่องมามีแต่ตัวหนังสือสีขาว พื้นสีดำ 
  • เปิดเครื่องมามีแต่ตัวหนังสือสีขาว พื้นสีฟ้า 
  • เปิดเครื่องพัดลมหมุนแต่ ไม่มีอะไรแสดงที่หน้าจอ
  • เปิดเครื่อง พัดลมติดแล้วดับ วนไปเรื่อยๆ 
  • เปิดเครื่องแล้วมีเสียงเตือน

อาการที่ว่ามาเหล่านี้ส่วนมากมักจะเกิดจาก ฮาร์ดแวร์ เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็เกี่ยวเนื่องกับ ซอร์ฟแวร์ด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นการตรวจเช็คก็จะเป็นการที่เราต้องเปิดเคสเพื่อจะตรวจอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ **การแก้ไขอาการมีหลายรูปแบบ ให้เป็นแนวทางการแก้ไขตามจุดเพื้องต้นเท่านั้น **

อาการและการตรวจเช็คตามรายการด้านบน เป็นเพียงการตรวจเช็คเบื้อต้น อาจต้องเช็คในส่วนต่างๆเพิ่มเติมและอาจจะต้องมีอุปกรณ์เครื่องมือตรวจสอบเพิ่มเติม ถ้าตรวจสอบเองแล้วยังไม่ได้ แนะนำให้ส่งร้าน หรือเรียกใชบริการ ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า